วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ภาพคนในงานจิตรกรรม (รวบรวม2559)

ภาพคนในงานจิตรกรรม

          คนก็คือพวกเราทุกคน และคือตัวของศิลปินด้วย คนจึงเป็นรูปร่างที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชีวิต ความรู้สึก นึกคิด ต่างๆ นานากับตัวศิลปินมากที่สุด แม้กระทั่งผู้ดูก็เป็นคนเหมือนกันย่อมให้ความสนใจกับเนื้อหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตนมากไม่น้อยไปกว่าศิลปิน ภาพคนที่อยู่ในศิลปะก็มีอยู่มากมายหลายประเภทนอกเหนือจากงานจิตรกรรมก็ยังมีงานศิลปะประเภทอื่นๆ อีก เช่น ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสมอื่นๆ อีกมากมาย แต่การจัดการความรู้ในที่นี้ได้นำเอาภาพคนที่อยู่ในงานจิตรกรรมขึ้นมาพูดคุยเพื่อจัดการความรู้เท่านั้น เพราะในงานจิตรกรรมที่มีภาพคนก็มีรายละเอียดต่างๆ ที่น่าสนใจในการที่จะศึกษาและร่วมรวมข้อมูลความรู้เอาไว้เพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้กันต่อไป

    ภาพวาดอันโด่งดัง Moan Lisa ศิลปิน Leonardo da Vinci
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Mona_Lisa,_by_Leonardo_da_Vinci,_from_C2RMF_retouched.jpg
(5, 2559)
          ภาพคนที่อยู่ในงานจิตรกรรมเป็นรูปแบบวิธีการที่ศิลปินให้ความสนใจนำมาใช้เป็นแรงบัลดาลใจสำคัญในการสร้างสรรค์มาแล้วมากมายตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ในยุคแรกๆ ของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่มีภาพคนมักถูกนำไปใช้ในการรับใช้ศาสนา เนื้อหาประวัติของบุคคลสำคัญที่เป็นศาสดาในศาสนา ประวัติศาสตร์ ประวัติของบุคคลสำคัญ เช่น ผู้นำ กษัตริย์ผู้ครองเมือง หรือเศรษฐีผู้มั่งคั่งร่ำรวยจนสามารถว่าจ้างศิลปินให้เขียนรูปของตน หรือบุคคลในครอบครัว ในยุคต่อๆ มาที่ศิลปินเริ่มบันทึกภาพชีวิตผู้คน ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต การแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เห็นหรือต้องการสื่อ นั่นอาจเป็นเพราะ คนก็คือสิ่งที่อยู่ในสังคมคือ สิ่งที่ถ่ายทอดเนื้อหาของความเป็นสังคม ความคิด ความรู้สึกต่างๆ ของศิลปินได้อย่างตรงชัด
          มาถึงยุคปัจจุบัน ศิลปินหลายท่านยังนำเอาคนมาใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก เพื่อสื่อสารไปสู่ผู้ดู ในยุคที่การสื่อสารเข้าถึงผู้คนได้แทบทั่วทุกทิศเช่นนี้ ผู้คนจำนวนมาก ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาพคน ขึ้นมามากมายที่น่าสนใจให้การศึกษารวบรวม
    

ตัวอย่างภาพ The Last Supper, 1498 มีเนื้อหาเกี่ยวกับคริสต์ประวัติ โดย ศิลปิน Leonardo da Vinci
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/เลโอนาร์โด_ดา_วินชี (5, 2559)
งานจิตรกรรมไม่ได้ถูกจำกัดไว้ที่การสร้างสรรค์วิธีใดวิธีหนึ่งแต่ยังถูกสร้างสรรค์ไว้ในรูปแบบต่างๆ หลายประเภทด้วยกัน พอแยกออกได้ดังนี้
ประเภทของภาพคนในงานจิตรกรรม
1.      เหมือนจริง (Realistic) ศิลปินรักษาความเป็นต้นแบบไว้สูง ให้ความสำคัญกับทุกๆ ส่วนภายในภาพพร้อมทั้งพยายามให้การเก็บรายละเอียดไว้ให้มากที่สุด โดยที่ยังแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกทางรูปทรงและสีด้วย
    

ภาพตัวอย่างผลงานในแบบเหมือนจริง ศิลปิน : Serge Marshennikov
ที่มา : http://www.welikeviral.com/kid-photographs-something-amazing.html (5, 2559)
2.      กึ่งเหมือนจริง (Semi-Realism) รูปทรงมีที่มาจากของที่มีอยู่จริงแต่ถูกตัดทอนลงไปบางส่วน แต่ก็ยังมีความจริงอยู่จนทำให้รู้ได้ว่ารูปทรงนั้นมีที่มาจากสิ่งใด
     

      ภาพตัวอย่างผลงานแบบกึ่งเหมือนจริง ศิลปิน Fuco Ueda

ที่มา : http://www.mymodernmet.com/profiles/blogs/fuco-ueda-flower-of-memory-show (5, 2559)
3.      เหนือจริง (Surrealism) คือ ความฝันของศิลปิน เป็นจินตนาการที่ถูกเพิ่มเข้าไว้ในภาพของความเป็นจริง ศิลปินมักใช้ภาพของความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วมาจินตนาการเพิ่มเข้าไป ตัวอย่างเช่น งานของ Rene Magritte เขานำภาพของคนในช่วงล่าง มาใส่กรงนกเพื่อเป็นลำตัวของคน มีมือที่โผ่จากผ้าที่คลุมกรงนกมือข้างนึ่งถือไม้เท้า และมืออีกข้างจับกระเป๋าเอาไว้ข้างลำตัว วางหมวกไว้ด้านบนเพื่อให้รู้สึกว่าเป็นส่วนหัว จะเห็นได้ว่าศิลปินนำ กรงนกที่เป็นสิ่งของ มารวมกันกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประกอบกันขึ้นได้รูปทรงใหม่ที่โลกความเป็นจริงไม่มีอยู่
ภาพตัวอย่างผลงานในแบบเหนือจริง ศิลปิน Rene Magritte
ที่มา : http://www.wikiart.org/en/rene-magritte/the-therapeutist-1937 (5, 2559)
4.      กึ่งนามธรรม (semi abstract) รูปทรงมีที่มาจากคน ถูกตัดทอนไปมากแต่เมื่อดูแล้วยังสามารถรู้ได้ถึงที่มาของรูปทรง ศิลปินมักใช้ เส้น สี น้ำหนักต่างๆแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างมากกว่าที่จะแสดงความหมายของรูปทรงที่เห็นตรงหน้า
   
        ศิลปิน Marten Jansen
ที่มา : http://loco-notions.blogspot.com/2009/03/i-really-enjoy-these-abstract-paintings.html (5, 2559)
5.      แนวประเพณี ศิลปินได้รับอิทธิพลจากภาพแนวประเพณีของแต่ละท้องถิ่นที่คุ้นเคย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบุคลิคที่แตกต่างกันไปตามแต่ความเป็นอยู่ ภูมิอากาศ วัฒนธรรม ฯลฯ โดยใช้รูปแบบและวิธีการที่ก็จะมีลักษณะเฉพาะที่มีความแตกต่าง หรือใกล้เคียงกันตามภูมิศาสตร์ ส่วนใหญ่งานแนวประเพณีทางฝั่งเอเชียมักวาดรูปแบบอุดมคติรูปร่าง รูปทรงมักถูกสร้างสรรค์ ตัวทอนมาจนลงตัวอ่อนช้อยงดงาม ลงสีแบบเรียบๆ แล้วตัดเส้น บางครั้งมีการนำแผ่นทองมาปิดเพื่อให้เกิดความสวยงามวิจิตรบรรจงมากยิ่งขึ้น

ภาพตัวอย่าง จิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ที่มา : http://www.naryak.com/forum/printview.php?f=12&t=44&start=15 (5/2559)
เทคนิควิธีการที่ใช้ในการสร้างสรรค์  มีหลากหลายมาก และผลที่ได้รับก็มีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของเทคนิคที่ใช้ ดังต่อไปนี้
1.      สีน้ำมัน (Oil Color) ศิลปินนิยมใช้สีน้ำมันในการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นสีที่ใช้ตัวละลายด้วยน้ำมัน เช่น น้ำมันสน น้ำมันลินสีด เป็นสีชนิดแห้งช้า เป็นสีที่จิตรกรนิยมใช้ ลักษณะของสีดูมันวาว ทำให้ภาพเขียนดูมีชีวิตชีวา
     
ภาพตัวอย่างการใช้สีน้ำมัน ศิลปิน Omar Ortiz
ที่มา : http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5/2559)
2.      สีน้ำ (Water Color) เนื้อสีทำจากพลาสติกมีลักษณะโปร่งแสง ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ด้วยลักษณะที่ใสของสีที่ทาลงบนกระดาษทำให้ภาพดูมีความสดใสค่อนข้างสูง มักนิยมใช้ในการวาดภาพทิศทัศน์ เพราะสีแห้งเร็ว สามารถบันทึกภาพในระยะเวลาสั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

      
  ภาพตัวอย่างการใช้สีน้ำ ศิลปิน Liu Yungsheng 
ที่มา : http://www.mymodernmet.com/profiles/blogs/liu-yunsheng-watercolours (5, 2559)
3. สีอะคริลิค (Acrylic Color) เป็นสีที่ใช้ตัวทำละลายเป็นน้ำ มีความสดใส แต่จะน้อยกว่าสีน้ำมัน แห้งเร็วมาก มีความทึบแสง ลักษณะของสีเมื่อนำมาใช้จะคล้ายกับสีน้ำมัน แต่จะไม่มันวาวเท่า
        ภาพตัวอย่างการใช้สีอะคริลิค  ศิลปิน Jason De Graff
       ที่มา : http://twistedsifter.com/2014/03/hyperrealistic-still-life-paintings-jason-de-graaf/ (5/2559)
4. สีฝุ่น (Tempera) ตัวสีจะมีเนื้อเป็นผงบดละเอียด มักมีที่มาจากธรรมชาติ เช่น ดิน หิน พืช เวลาใช้ผสมด้วยกาวและน้ำ ใช้เขียนตั้งแต่ในยุคแรกๆ ของภาพเขียนส่วนใหญ่จะพบเป็นภาพเขียนตามผนังต่างๆ เช่น วัด โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
         

ศิลปิน Raffaello Sanzio da Urbino
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/สีฝุ่นเทมเพอรา (5, 2559)
5.      สีโปสเตอร์ (Poster Color) เป็นสีชนิดฝุ่นที่ผสมด้วยกาวแล้วบรรจุเป็นขวดแบบสำเร็จรูป ทำละลายด้วยน้ำ มีความทึบแสง เป็นสีที่นำมาผลิตเพื่อให้ใช้งานง่าย เมื่อเปิดฝาแล้วสามารถนำมาใช้ได้ทันที
 

    ภาพตัวอย่างการใช้สีโปสเตอร์ ศิลปิน  Mahesh lonkar

     ที่มา : https://www.behance.net/gallery/1086669/poster-color-work (5, 2559)

6.      สีชอล์ค (Pastel) เป็นสีฝุ่นที่นำไปอัดเป็นแท่ง ผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วย

ภาพตัวอย่างการใช้สีชอล์ค ศิลปิน Nicholas De Grandmaison
ที่มา : http://www.mayberryfineart.com/artwork/AW2060 (5, 2559)
7. สีหมึก (Ink) ตัวทำละลายเป็นน้ำ มีสีดำ เป็นสีที่ผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการเขียนตัวอักษร แต่ศิลปินก็นิยมนำมาใช้ในการวาดรูปด้วย บางครั้งมักถูกนำไปใช้ในการวาดภาพการตูน ไม่ว่าจะเป็นการตูนล้อการเมือง หรือการตูนที่สร้างสรรค์เพื่อความบันเทิงต่างๆ

ภาพตัวอย่างการใช้สีหมึก ศิลปิน Mike Parsons
ที่มา : http://www.heyapathy-comics-art.com/pen-and-ink-artist.html  (5, 2559)
8. ดินสอดำ เกิดจากแกรไฟต์ (แร่ดินสอดำ) กับผงถ่านเติมน้ำ แล้วอัดเป็นแท่ง เพื่อใช้ในการขีด เขียน วาดเส้น เพื่อสะดวกในการเขียนภาพ ศิลปินมักนำไปใช้ในการฝึกหัดวาดรูปตั้งแต่เริ่มต้นเรียนศิลปะ ไปจนถึงสามารถนำไปสร้างสรรค์ศิลปะขึ้นสูง
 
      ภาพตัวอย่างการใช้ดินสอดำ ศิลปิน Franco Clun
     ที่มา : http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5, 2559)
9. ถ่านชาโคล (Charcoal) เป็นแท่งถ่านสีดำ ใช้วาดเส้น จะไม่มีปลอกหุ้มเหมือนกับดินสอดำ สามารถวาดภาพโดยมีเนื้อที่ในการปาดป้ายกว้างกว่าดินสอดำมาก
     
       ภาพตัวอย่างการใช้ถ่านชาโค ศิลปิน  Daisy
         ที่มา http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5/2559)
10. สีไม้ (Crayon) เป็นสีผงละเอียด ผสมขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ นำมาอัดเป็นแท่งรูปแบบดินสอไม้ ทำให้สะดวกในการใช้ เช่นเดียวกับดินสอดำ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ผลิตออกมาหลากหลายสีมาก

ภาพตัวอย่างการใช้สีไม้ ศิลปิน Jose Vergara
ที่มา http://www.panamericanworld.com/en/article/hyperreal-and-vertiginous-artist-jose-vergara-redosking (5/2559)
11. สีเทียน (Oil Pastel) เป็นสีชนิดฝุ่น ผสมกับไขมัน หรือขี้ผึ้ง แล้วอัดเป็นแท่ง คล้ายกับสีชอลค์แต่ตัวผสมจะเป็นชนิดไขมัน มีความมันวาวกว่าเมื่อนำไปใช้
     
              ภาพตัวอย่างการใช้สีเทียน ศิลปิน Nicholas De Grandmaison
ที่มา : http://www.mayberryfineart.com/artist/nicholas_de_grandmaison?p=2 (5, 2559)
12. ปากกาลูกลื่น (Ball point pen) คือ ปากกาที่มีปลายเป็นลูกเหล็กเล็กๆ ที่หมุนได้เพื่อกันหมึกสีที่อยู่ภายในแท่งไม่ให้หยดเลอะเทอะ มักใช้ในการเขียนตัวหนังสือ บันทึกข้อความเป็นตัวอักษรมากกว่าที่จะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ แต่ก็มีศิลปินบางคนให้ความสนใจและเห็นความพิเศษที่แตกต่างของผลที่ได้รับจากการวาดด้วยปากกาลูกลื่นด้วยเช่นกัน
ภาพตัวอย่างการใช้ปากกาลูกลื่น ศิลปิน Samuel Silvia
ที่มา : http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5/2339)
13. เทคนิคผสม (Mix media) มีการใช้วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ นอกเหนือจากการใช้สีมาประกอบกันเข้าภายในภาพ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ในการสร้างสรรค์แทบไม่จำกัดประเภท เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ ผ้า ฯลฯ
       
         ภาพตัวอย่างการใช้เทคนิคผสม ศิลปิน  Michael Mapes
ที่มา : http://www.neatorama.com/2014/01/13/Portraits-Made-From-Collaged-Specimens/ (5, 2559)
14. การถ่ายภาพ ( Photograph) ศิลปินถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านทางการบันทึกภาพ ด้วยการเลือกเนื้อหาและมุมมองของศิลปิน ทำให้ภาพถ่ายมีความพิเศษยิ่งไปกว่าการถ่ายรูปเล่นทั่วๆ ไป

      ภาพตัวอย่างการใช้การถ่ายภาพ  ศิลปิน Jill Greenberg

ที่มา : http://clampart.com/2012/04/end-times/#/15 (5, 2559)
แนวความคิดของการสร้างสรรค์ศิลปะ นั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของศิลปินด้วย สรุปให้พอเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด  ดังต่อไปนี้
1.      แนวคิดเกี่ยวกับการบันทึกชีวิตของผู้คน ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต ประเพณี การละเล่นต่างๆ
    
         The Midday Nap (1894) ศิลปิน Paul Gauguin
                     ที่มา : en.wikipedia.org/wiki/Paul_Gauguin (5, 2559)
2.      แนวคิดเกี่ยวกับศาสนา แทบทุกยุคที่ผ่านมา มักมีเรื่องราวของศาสนาเข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับงานศิลปะอย่างแยกไม่ออก ทั้งโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ล้วนแล้วแต่ ศิลปะทำงานรับใช้ศาสนา ทำหน้าที่สอนผู้คนในเรื่องคำสอนของศาสนาต่างๆ บางครั้งเป็นเรื่องราวของประวัติของศาสดา บางครั้งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผลของการกระทำต่างๆ ฯลฯ
     
        รูป Pieta ศิลปิน Botticelli Sandro
    ที่มา : commons.wikimedia.org/wiki/File:Pietà_Botticelli_(Monaco).jpg
3.      แนวคิดจินตนาการ เกิดจากความคิดฝันของศิลปิน แม้มีที่มาของความเป็นจริงอยู่ แต่สิ่งที่ศิลปินคิดฝัน ทำให้รูปทรงที่เกิดขึ้นใหม่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยเป็น
         

ศิลปิน Salvador Dali

ที่มา : http://pictify.saatchigallery.com/291633/soft-construction-with-boiled-beans-premonition-of-civil-war (5, 2559)
4.      สะท้อนสังคมในช่วงเวลานั้นๆ เป็นอย่างไร ข่าวสารต่างๆ ความเป็นไปของสังคม การเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของเวลา ศิลปินก็เป็นคนที่อยู่สังคมย่อมได้รับความรู้สึกต่างๆ ที่มากระทบเช่นกัน แต่ต่างกันตรงศิลปินนำความรู้สึกที่มีมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ

            ศิลปิน Francisco Goya
     ที่มา : https://www.hawaii.edu/powerkills/WF.CHAP5.HTM (5, 2559)
องค์ประกอบ  องค์ประกอบที่ใช้จะเป็นตัวบอกว่าศิลปินกำลังต้องการเน้นในการแสดงออกเกี่ยวกับสิ่งใดเป็นพิเศษ และเนื้อหาสาระเกี่ยวพันกับเรื่องใดโดยตรง ดังต่อไปนี้
1.      เน้นบางส่วนของรูปทรง รูปทรงจะถูกจัดให้อยู่กลางภาพมีขนาดที่ใหญ่ และมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เช่น เน้นไปที่ใบหน้าของคน ศิลปินต้องการเน้นรายละเอียดของคนๆ หนึ่งที่มีความน่าสนใจในร่องรอยของผิวพันธ์ ริ้วรอยของคนที่บอกเราให้ทราบว่าเป็นใคร มาจากไหน อายุเท่าไหร่ บอกได้ถึงการใช้ชีวิตของคนผู้นั้น
        

            ศิลปิน Simon Hennessey

       ที่มา : http://www.amusingplanet.com/2013/08/hyper-realistic-paintings-by-simon.html 2559)

2.      มุมมองครึ่งตัว มุมมองแบบนี้ต้องการเน้นไปที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ความแตกต่างของการต้องการแสดงออกถึงความเป็นบุคลิคที่แตกต่างของแต่ละคน หน้าตา เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้าแต่งตา การวางท่าทางของแต่ละคน

ภาพคนครึ่งตัว La Berceuse Portrait Of Madame Roulin ของ Vincent Van Gogh

ที่มา : http://ayay.co.uk/background/paintings/vincent_van_gogh/la-berceuse-portrait-of-madame-roulin/ (5, 2559)
3.      มุมมองแบบเต็มตัว มักมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท่าทาง หรือการแต่งกายของคนเข้าไปร่วมด้วยเพื่อสื่อความหมายที่ต้องการแสดงออกให้สมบูรณ์ ทำให้มีความจำเป็นต้องแสดงออกให้เห็นคนทั้งตัว
      ศิลปิน Teresa Elliott
 ที่มา : http://www.welikeviral.com/kid-photographs-something-amazing.html
4.      มุมที่ไกลออกไป หรือแบบทิวทัศน์ ภาพแบบนี้จำเป็นต้องมีภาพทิวทัศน์เพื่อประกอบให้เนื้อหาของคนสมบูรณ์ขึ้น
             
                                     ศิลปิน Winslow Homer
        ที่มา : http://www.winslowhomer.org/snap-the-whip.jsp (5, 2559)


5.      ภาพที่แสดงถึงสังคมมนุษย์ มุมมองของคนจำนวนมากๆ รวมกันอยู่ในภาพๆ หนึ่ง ศิลปินอาจต้องการแสดงกิจกรรมบางอย่างที่มีคนจำนวนมากมายเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้ภาพดูสมจริงตามเนื้อหาที่ต้องการแสดงออก
 
ศิลปิน Pierre-August Renoir 
ที่มา : http://www.josevivas.fr/Sauvegarde/images/Histoire/Les%20sociabilit%C3%A9s%20au%20XIX%C3%A8me%20si%C3%A8cle/Renoir%20Moulin%20de%20la%20galette3.jpg (5, 2559)

ภาพคนในงานจิตรกรรมเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก  ยิ่งเมื่อได้ศึกษาเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นแล้ว ยิ่งเป็นสิ่งที่น่าจะค้นคว้าให้ละเอียดต่อไปเป็นอย่างยิ่ง อาจเป็นด้วยเสน่ห์ของความเป็นภาพคนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตผู้คนที่มีมุมมองที่แตกต่างออกไป เหมือนเราได้ตามศิลปินออกไปดูชีวิตผู้คนที่หลากหลาย ทำให้ความน่าสนใจของการสร้างสรรค์ภาพคนยังคงมีต่อไป ทั้งที่ดำเนินมาแล้วตั้งแต่อดีต มายังปัจจุบัน และดำเนินต่อไปในอนาคตอีกยาวไกล คนก็น่าจะยังเป็น รูปทรงที่ถูกศิลปินนำมาสร้างสรรค์ในแบบกันต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น