วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การใช้สีขัดแย้ง สีคู่ตรงข้าม (Complementary colors)

                    สีขัดแย้ง สีคู่ตรงข้าม   คือ    สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี มีความสด และขัดแย้งกันเป็นอย่างมาก ในการนำไปใช้ในงานศิลปะต้องคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย ดังตัวอย่าง ภาพผลงานของศิลปินหลาย ๆ ท่านในการนำสีคู่ หรือคู่สี มาใช้ นอกจากคู่สีแล้วยังมีลดความขัดแย้งด้วยการลดความสดของสีลงด้วยสีอื่น ๆ เช่น คู่สีของมันเอง ดำ ขาว หรือสีข้างเคียง

Paul Gauguin 


ชื่อผลงาน The Yellow Christ (1889)
ที่มา : http://www.theartstory.org/artist-gauguin-paul-artworks.htm#pnt_5


ชื่อผลงาน Self-Portrait 'Les Miserables' (1888)
ที่มา http://www.sedefscorner.com/2011/05/vincent-van-gogh-paul-gauguin-self.html

Emile Bernard


ชื่อผลงาน Self-Portrait with Portrait of Gauguin,1888
ที่มา http://www.sedefscorner.com/2011/05/vincent-van-gogh-paul-gauguin-self.html

Vincent van Gogh.



ชื่อผลงาน The All-Knight Café at Arles. September 1888.
ที่มา  http://www.abcgallery.com/V/vangogh/vangogh104.html


ชื่อผลงาน majolica jar with branches of oleander 1888
ที่มา http://www.saleoilpaintings.com/paintings/vincent-van-gogh/vincent-van-gogh-majolica-jar-with-branches-of-oleander-1888.html

Kenne Gregoire

ชื่อผลงาน Lunch met mrkreel 2009
ที่มา : https://kennegregoire.com/stilllifes/



โดย อาจารย์ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร




ุ่

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ที่ว่างเปิด แบบของที่ว่างในงานศิลปะ (Space)

ที่ว่างเปิด คือ อะไร

ที่ว่างเปิด  คือ ที่ว่างที่เส้นรอบนอกของที่ว่าง หรือรูปทรงเปิดออก มีผลทำให้ ที่ว่าง และรูปร่าง เปิดหากัน ความเคลื่อนไหวกระจายไปทั่วทั้งส่วนที่เป็นบวกและส่วนที่เป็นลบ


ตัวอย่างผลงาน

Pablo Picasso

Pablo Picasso, 1969, The Kiss
ที่มา : http://www.pablopicasso.org/the-kiss.jsp  วันที่ค้น 13 ธค59



Pablo Picasso, 1912, Violin and Grapes, oil on canvas


Pablo Picasso, 1909, Brick Factory at Tortosa
ที่มา :  https://en.wikipedia.org/wiki/Proto-Cubism  วันที่ค้น 13 ธค59

Georgia O'Keeffe

Georgia O'Keeffe, 1927, Abstraction White Rose
ที่มา : http://www.georgiaokeeffe.net/abstraction-white-rose.jsp วันที่ค้น 13 ธค59

Georgia O'Keeffe, 1928, Two Calla Lilies on Pink
ที่มา : http://www.georgiaokeeffe.net/two-calla-lilies-on-pink.jsp วันที่ค้น 13 ธค59

Georgia O'Keeffe, 1928, East River From the 30th Story of the Shelton Hotel
ที่มา : https://ephemeralnewyork.wordpress.com/2013/11/18/the-modern-metropolis-of-georgia-okeeffe/  วันที่ค้น 13 ธค59

Joan Miro

Joan Miró, 1928, Interior holandés
วันที่ค้น 13 ธค59

Joan Miro, 1924, Catalan Landscape
วันที่ค้น 13 ธค59



โดย ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร
        13 ธันวาคม 2559

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ภาพเขียนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดย ปวช ปี1วิทยาลัยช่างศิลปลาดกระบัง พ.ศ.2559

          เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและร่วมถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย นักเรียนระดับชั้นปวช ปี1 พ.ศ. 2559 วิทยาลัยช่างศิลป ลาดกระบัง ร่วมกันวาดภาพในหลวง รัชกาลที่ 9 / ควบคุมการเรียนการสอนโดย อ.ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร และร่วมสอนโดย อ.นิลยา มีศรี,อ.ณัฐนนท์ ทองบพิตร,อ.สโรชา ปัทมาวไล และ อ.สุภัสสร ธนามโนสาร ดังภาพบางส่วนดังต่อไปนี้ (จะเพิ่มเติมภาพเข้ามาอีก ยังไม่หมด)

โดย  นายกิตติธัช   เกษรบัว 1/1


โดย นางสาวนภารัตน์   โพธิ์ถาวร   1/2


โดย นางสาวธัญชนา  นิ่มพญา  1/2


นางสาวนภัสวรรณ   ณ สงขลา 1/3


โดย นายตรัยณุภัทร์  ทิมเสถียร   1/1


นายกฤติธี  ศิริสุข 1/9

นางสาวดลยา   สวยสุข  1/1

โดย นางสาวอมริทร์  สุวรรณเดชา  1/1

นายชลสิทธิ์  เจริญสมัย  1/1


นางสาวปันทิตา  รอดเกิด  1/2

นางสาวพรนภา  สิงห์ชนะด่าน 1/1


นายพลกร  ชินโย  1/3


นายยืนยง  อัตวัฒนา  1/8

ลงภาพครั้งแรก 25 พฤศจิกายน 2559
แก้ไขเพิ่มครั้งที่ 2จำนวน 3 ภาพ ห้อง 2 , 28 พฤศจิกายา 2559
แก้ไข้ครั้งที่ 3 เพิ่ม 4ภาพ ,6 ธันวาคม 2559

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ภาพคนในงานจิตรกรรม (รวบรวม2559)

ภาพคนในงานจิตรกรรม

          คนก็คือพวกเราทุกคน และคือตัวของศิลปินด้วย คนจึงเป็นรูปร่างที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชีวิต ความรู้สึก นึกคิด ต่างๆ นานากับตัวศิลปินมากที่สุด แม้กระทั่งผู้ดูก็เป็นคนเหมือนกันย่อมให้ความสนใจกับเนื้อหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตนมากไม่น้อยไปกว่าศิลปิน ภาพคนที่อยู่ในศิลปะก็มีอยู่มากมายหลายประเภทนอกเหนือจากงานจิตรกรรมก็ยังมีงานศิลปะประเภทอื่นๆ อีก เช่น ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสมอื่นๆ อีกมากมาย แต่การจัดการความรู้ในที่นี้ได้นำเอาภาพคนที่อยู่ในงานจิตรกรรมขึ้นมาพูดคุยเพื่อจัดการความรู้เท่านั้น เพราะในงานจิตรกรรมที่มีภาพคนก็มีรายละเอียดต่างๆ ที่น่าสนใจในการที่จะศึกษาและร่วมรวมข้อมูลความรู้เอาไว้เพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้กันต่อไป

    ภาพวาดอันโด่งดัง Moan Lisa ศิลปิน Leonardo da Vinci
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Mona_Lisa,_by_Leonardo_da_Vinci,_from_C2RMF_retouched.jpg
(5, 2559)
          ภาพคนที่อยู่ในงานจิตรกรรมเป็นรูปแบบวิธีการที่ศิลปินให้ความสนใจนำมาใช้เป็นแรงบัลดาลใจสำคัญในการสร้างสรรค์มาแล้วมากมายตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ในยุคแรกๆ ของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่มีภาพคนมักถูกนำไปใช้ในการรับใช้ศาสนา เนื้อหาประวัติของบุคคลสำคัญที่เป็นศาสดาในศาสนา ประวัติศาสตร์ ประวัติของบุคคลสำคัญ เช่น ผู้นำ กษัตริย์ผู้ครองเมือง หรือเศรษฐีผู้มั่งคั่งร่ำรวยจนสามารถว่าจ้างศิลปินให้เขียนรูปของตน หรือบุคคลในครอบครัว ในยุคต่อๆ มาที่ศิลปินเริ่มบันทึกภาพชีวิตผู้คน ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต การแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เห็นหรือต้องการสื่อ นั่นอาจเป็นเพราะ คนก็คือสิ่งที่อยู่ในสังคมคือ สิ่งที่ถ่ายทอดเนื้อหาของความเป็นสังคม ความคิด ความรู้สึกต่างๆ ของศิลปินได้อย่างตรงชัด
          มาถึงยุคปัจจุบัน ศิลปินหลายท่านยังนำเอาคนมาใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก เพื่อสื่อสารไปสู่ผู้ดู ในยุคที่การสื่อสารเข้าถึงผู้คนได้แทบทั่วทุกทิศเช่นนี้ ผู้คนจำนวนมาก ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาพคน ขึ้นมามากมายที่น่าสนใจให้การศึกษารวบรวม
    

ตัวอย่างภาพ The Last Supper, 1498 มีเนื้อหาเกี่ยวกับคริสต์ประวัติ โดย ศิลปิน Leonardo da Vinci
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/เลโอนาร์โด_ดา_วินชี (5, 2559)
งานจิตรกรรมไม่ได้ถูกจำกัดไว้ที่การสร้างสรรค์วิธีใดวิธีหนึ่งแต่ยังถูกสร้างสรรค์ไว้ในรูปแบบต่างๆ หลายประเภทด้วยกัน พอแยกออกได้ดังนี้
ประเภทของภาพคนในงานจิตรกรรม
1.      เหมือนจริง (Realistic) ศิลปินรักษาความเป็นต้นแบบไว้สูง ให้ความสำคัญกับทุกๆ ส่วนภายในภาพพร้อมทั้งพยายามให้การเก็บรายละเอียดไว้ให้มากที่สุด โดยที่ยังแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกทางรูปทรงและสีด้วย
    

ภาพตัวอย่างผลงานในแบบเหมือนจริง ศิลปิน : Serge Marshennikov
ที่มา : http://www.welikeviral.com/kid-photographs-something-amazing.html (5, 2559)
2.      กึ่งเหมือนจริง (Semi-Realism) รูปทรงมีที่มาจากของที่มีอยู่จริงแต่ถูกตัดทอนลงไปบางส่วน แต่ก็ยังมีความจริงอยู่จนทำให้รู้ได้ว่ารูปทรงนั้นมีที่มาจากสิ่งใด
     

      ภาพตัวอย่างผลงานแบบกึ่งเหมือนจริง ศิลปิน Fuco Ueda

ที่มา : http://www.mymodernmet.com/profiles/blogs/fuco-ueda-flower-of-memory-show (5, 2559)
3.      เหนือจริง (Surrealism) คือ ความฝันของศิลปิน เป็นจินตนาการที่ถูกเพิ่มเข้าไว้ในภาพของความเป็นจริง ศิลปินมักใช้ภาพของความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วมาจินตนาการเพิ่มเข้าไป ตัวอย่างเช่น งานของ Rene Magritte เขานำภาพของคนในช่วงล่าง มาใส่กรงนกเพื่อเป็นลำตัวของคน มีมือที่โผ่จากผ้าที่คลุมกรงนกมือข้างนึ่งถือไม้เท้า และมืออีกข้างจับกระเป๋าเอาไว้ข้างลำตัว วางหมวกไว้ด้านบนเพื่อให้รู้สึกว่าเป็นส่วนหัว จะเห็นได้ว่าศิลปินนำ กรงนกที่เป็นสิ่งของ มารวมกันกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประกอบกันขึ้นได้รูปทรงใหม่ที่โลกความเป็นจริงไม่มีอยู่
ภาพตัวอย่างผลงานในแบบเหนือจริง ศิลปิน Rene Magritte
ที่มา : http://www.wikiart.org/en/rene-magritte/the-therapeutist-1937 (5, 2559)
4.      กึ่งนามธรรม (semi abstract) รูปทรงมีที่มาจากคน ถูกตัดทอนไปมากแต่เมื่อดูแล้วยังสามารถรู้ได้ถึงที่มาของรูปทรง ศิลปินมักใช้ เส้น สี น้ำหนักต่างๆแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างมากกว่าที่จะแสดงความหมายของรูปทรงที่เห็นตรงหน้า
   
        ศิลปิน Marten Jansen
ที่มา : http://loco-notions.blogspot.com/2009/03/i-really-enjoy-these-abstract-paintings.html (5, 2559)
5.      แนวประเพณี ศิลปินได้รับอิทธิพลจากภาพแนวประเพณีของแต่ละท้องถิ่นที่คุ้นเคย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบุคลิคที่แตกต่างกันไปตามแต่ความเป็นอยู่ ภูมิอากาศ วัฒนธรรม ฯลฯ โดยใช้รูปแบบและวิธีการที่ก็จะมีลักษณะเฉพาะที่มีความแตกต่าง หรือใกล้เคียงกันตามภูมิศาสตร์ ส่วนใหญ่งานแนวประเพณีทางฝั่งเอเชียมักวาดรูปแบบอุดมคติรูปร่าง รูปทรงมักถูกสร้างสรรค์ ตัวทอนมาจนลงตัวอ่อนช้อยงดงาม ลงสีแบบเรียบๆ แล้วตัดเส้น บางครั้งมีการนำแผ่นทองมาปิดเพื่อให้เกิดความสวยงามวิจิตรบรรจงมากยิ่งขึ้น

ภาพตัวอย่าง จิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ที่มา : http://www.naryak.com/forum/printview.php?f=12&t=44&start=15 (5/2559)
เทคนิควิธีการที่ใช้ในการสร้างสรรค์  มีหลากหลายมาก และผลที่ได้รับก็มีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของเทคนิคที่ใช้ ดังต่อไปนี้
1.      สีน้ำมัน (Oil Color) ศิลปินนิยมใช้สีน้ำมันในการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นสีที่ใช้ตัวละลายด้วยน้ำมัน เช่น น้ำมันสน น้ำมันลินสีด เป็นสีชนิดแห้งช้า เป็นสีที่จิตรกรนิยมใช้ ลักษณะของสีดูมันวาว ทำให้ภาพเขียนดูมีชีวิตชีวา
     
ภาพตัวอย่างการใช้สีน้ำมัน ศิลปิน Omar Ortiz
ที่มา : http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5/2559)
2.      สีน้ำ (Water Color) เนื้อสีทำจากพลาสติกมีลักษณะโปร่งแสง ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ด้วยลักษณะที่ใสของสีที่ทาลงบนกระดาษทำให้ภาพดูมีความสดใสค่อนข้างสูง มักนิยมใช้ในการวาดภาพทิศทัศน์ เพราะสีแห้งเร็ว สามารถบันทึกภาพในระยะเวลาสั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

      
  ภาพตัวอย่างการใช้สีน้ำ ศิลปิน Liu Yungsheng 
ที่มา : http://www.mymodernmet.com/profiles/blogs/liu-yunsheng-watercolours (5, 2559)
3. สีอะคริลิค (Acrylic Color) เป็นสีที่ใช้ตัวทำละลายเป็นน้ำ มีความสดใส แต่จะน้อยกว่าสีน้ำมัน แห้งเร็วมาก มีความทึบแสง ลักษณะของสีเมื่อนำมาใช้จะคล้ายกับสีน้ำมัน แต่จะไม่มันวาวเท่า
        ภาพตัวอย่างการใช้สีอะคริลิค  ศิลปิน Jason De Graff
       ที่มา : http://twistedsifter.com/2014/03/hyperrealistic-still-life-paintings-jason-de-graaf/ (5/2559)
4. สีฝุ่น (Tempera) ตัวสีจะมีเนื้อเป็นผงบดละเอียด มักมีที่มาจากธรรมชาติ เช่น ดิน หิน พืช เวลาใช้ผสมด้วยกาวและน้ำ ใช้เขียนตั้งแต่ในยุคแรกๆ ของภาพเขียนส่วนใหญ่จะพบเป็นภาพเขียนตามผนังต่างๆ เช่น วัด โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
         

ศิลปิน Raffaello Sanzio da Urbino
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/สีฝุ่นเทมเพอรา (5, 2559)
5.      สีโปสเตอร์ (Poster Color) เป็นสีชนิดฝุ่นที่ผสมด้วยกาวแล้วบรรจุเป็นขวดแบบสำเร็จรูป ทำละลายด้วยน้ำ มีความทึบแสง เป็นสีที่นำมาผลิตเพื่อให้ใช้งานง่าย เมื่อเปิดฝาแล้วสามารถนำมาใช้ได้ทันที
 

    ภาพตัวอย่างการใช้สีโปสเตอร์ ศิลปิน  Mahesh lonkar

     ที่มา : https://www.behance.net/gallery/1086669/poster-color-work (5, 2559)

6.      สีชอล์ค (Pastel) เป็นสีฝุ่นที่นำไปอัดเป็นแท่ง ผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วย

ภาพตัวอย่างการใช้สีชอล์ค ศิลปิน Nicholas De Grandmaison
ที่มา : http://www.mayberryfineart.com/artwork/AW2060 (5, 2559)
7. สีหมึก (Ink) ตัวทำละลายเป็นน้ำ มีสีดำ เป็นสีที่ผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการเขียนตัวอักษร แต่ศิลปินก็นิยมนำมาใช้ในการวาดรูปด้วย บางครั้งมักถูกนำไปใช้ในการวาดภาพการตูน ไม่ว่าจะเป็นการตูนล้อการเมือง หรือการตูนที่สร้างสรรค์เพื่อความบันเทิงต่างๆ

ภาพตัวอย่างการใช้สีหมึก ศิลปิน Mike Parsons
ที่มา : http://www.heyapathy-comics-art.com/pen-and-ink-artist.html  (5, 2559)
8. ดินสอดำ เกิดจากแกรไฟต์ (แร่ดินสอดำ) กับผงถ่านเติมน้ำ แล้วอัดเป็นแท่ง เพื่อใช้ในการขีด เขียน วาดเส้น เพื่อสะดวกในการเขียนภาพ ศิลปินมักนำไปใช้ในการฝึกหัดวาดรูปตั้งแต่เริ่มต้นเรียนศิลปะ ไปจนถึงสามารถนำไปสร้างสรรค์ศิลปะขึ้นสูง
 
      ภาพตัวอย่างการใช้ดินสอดำ ศิลปิน Franco Clun
     ที่มา : http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5, 2559)
9. ถ่านชาโคล (Charcoal) เป็นแท่งถ่านสีดำ ใช้วาดเส้น จะไม่มีปลอกหุ้มเหมือนกับดินสอดำ สามารถวาดภาพโดยมีเนื้อที่ในการปาดป้ายกว้างกว่าดินสอดำมาก
     
       ภาพตัวอย่างการใช้ถ่านชาโค ศิลปิน  Daisy
         ที่มา http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5/2559)
10. สีไม้ (Crayon) เป็นสีผงละเอียด ผสมขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ นำมาอัดเป็นแท่งรูปแบบดินสอไม้ ทำให้สะดวกในการใช้ เช่นเดียวกับดินสอดำ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ผลิตออกมาหลากหลายสีมาก

ภาพตัวอย่างการใช้สีไม้ ศิลปิน Jose Vergara
ที่มา http://www.panamericanworld.com/en/article/hyperreal-and-vertiginous-artist-jose-vergara-redosking (5/2559)
11. สีเทียน (Oil Pastel) เป็นสีชนิดฝุ่น ผสมกับไขมัน หรือขี้ผึ้ง แล้วอัดเป็นแท่ง คล้ายกับสีชอลค์แต่ตัวผสมจะเป็นชนิดไขมัน มีความมันวาวกว่าเมื่อนำไปใช้
     
              ภาพตัวอย่างการใช้สีเทียน ศิลปิน Nicholas De Grandmaison
ที่มา : http://www.mayberryfineart.com/artist/nicholas_de_grandmaison?p=2 (5, 2559)
12. ปากกาลูกลื่น (Ball point pen) คือ ปากกาที่มีปลายเป็นลูกเหล็กเล็กๆ ที่หมุนได้เพื่อกันหมึกสีที่อยู่ภายในแท่งไม่ให้หยดเลอะเทอะ มักใช้ในการเขียนตัวหนังสือ บันทึกข้อความเป็นตัวอักษรมากกว่าที่จะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ แต่ก็มีศิลปินบางคนให้ความสนใจและเห็นความพิเศษที่แตกต่างของผลที่ได้รับจากการวาดด้วยปากกาลูกลื่นด้วยเช่นกัน
ภาพตัวอย่างการใช้ปากกาลูกลื่น ศิลปิน Samuel Silvia
ที่มา : http://blazepress.com/2014/06/20-amazing-examples-hyper-realistic-art/ (5/2339)
13. เทคนิคผสม (Mix media) มีการใช้วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ นอกเหนือจากการใช้สีมาประกอบกันเข้าภายในภาพ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ในการสร้างสรรค์แทบไม่จำกัดประเภท เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ ผ้า ฯลฯ
       
         ภาพตัวอย่างการใช้เทคนิคผสม ศิลปิน  Michael Mapes
ที่มา : http://www.neatorama.com/2014/01/13/Portraits-Made-From-Collaged-Specimens/ (5, 2559)
14. การถ่ายภาพ ( Photograph) ศิลปินถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านทางการบันทึกภาพ ด้วยการเลือกเนื้อหาและมุมมองของศิลปิน ทำให้ภาพถ่ายมีความพิเศษยิ่งไปกว่าการถ่ายรูปเล่นทั่วๆ ไป

      ภาพตัวอย่างการใช้การถ่ายภาพ  ศิลปิน Jill Greenberg

ที่มา : http://clampart.com/2012/04/end-times/#/15 (5, 2559)
แนวความคิดของการสร้างสรรค์ศิลปะ นั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของศิลปินด้วย สรุปให้พอเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด  ดังต่อไปนี้
1.      แนวคิดเกี่ยวกับการบันทึกชีวิตของผู้คน ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต ประเพณี การละเล่นต่างๆ
    
         The Midday Nap (1894) ศิลปิน Paul Gauguin
                     ที่มา : en.wikipedia.org/wiki/Paul_Gauguin (5, 2559)
2.      แนวคิดเกี่ยวกับศาสนา แทบทุกยุคที่ผ่านมา มักมีเรื่องราวของศาสนาเข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับงานศิลปะอย่างแยกไม่ออก ทั้งโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ล้วนแล้วแต่ ศิลปะทำงานรับใช้ศาสนา ทำหน้าที่สอนผู้คนในเรื่องคำสอนของศาสนาต่างๆ บางครั้งเป็นเรื่องราวของประวัติของศาสดา บางครั้งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผลของการกระทำต่างๆ ฯลฯ
     
        รูป Pieta ศิลปิน Botticelli Sandro
    ที่มา : commons.wikimedia.org/wiki/File:Pietà_Botticelli_(Monaco).jpg
3.      แนวคิดจินตนาการ เกิดจากความคิดฝันของศิลปิน แม้มีที่มาของความเป็นจริงอยู่ แต่สิ่งที่ศิลปินคิดฝัน ทำให้รูปทรงที่เกิดขึ้นใหม่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยเป็น
         

ศิลปิน Salvador Dali

ที่มา : http://pictify.saatchigallery.com/291633/soft-construction-with-boiled-beans-premonition-of-civil-war (5, 2559)
4.      สะท้อนสังคมในช่วงเวลานั้นๆ เป็นอย่างไร ข่าวสารต่างๆ ความเป็นไปของสังคม การเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของเวลา ศิลปินก็เป็นคนที่อยู่สังคมย่อมได้รับความรู้สึกต่างๆ ที่มากระทบเช่นกัน แต่ต่างกันตรงศิลปินนำความรู้สึกที่มีมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ

            ศิลปิน Francisco Goya
     ที่มา : https://www.hawaii.edu/powerkills/WF.CHAP5.HTM (5, 2559)
องค์ประกอบ  องค์ประกอบที่ใช้จะเป็นตัวบอกว่าศิลปินกำลังต้องการเน้นในการแสดงออกเกี่ยวกับสิ่งใดเป็นพิเศษ และเนื้อหาสาระเกี่ยวพันกับเรื่องใดโดยตรง ดังต่อไปนี้
1.      เน้นบางส่วนของรูปทรง รูปทรงจะถูกจัดให้อยู่กลางภาพมีขนาดที่ใหญ่ และมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เช่น เน้นไปที่ใบหน้าของคน ศิลปินต้องการเน้นรายละเอียดของคนๆ หนึ่งที่มีความน่าสนใจในร่องรอยของผิวพันธ์ ริ้วรอยของคนที่บอกเราให้ทราบว่าเป็นใคร มาจากไหน อายุเท่าไหร่ บอกได้ถึงการใช้ชีวิตของคนผู้นั้น
        

            ศิลปิน Simon Hennessey

       ที่มา : http://www.amusingplanet.com/2013/08/hyper-realistic-paintings-by-simon.html 2559)

2.      มุมมองครึ่งตัว มุมมองแบบนี้ต้องการเน้นไปที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ความแตกต่างของการต้องการแสดงออกถึงความเป็นบุคลิคที่แตกต่างของแต่ละคน หน้าตา เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้าแต่งตา การวางท่าทางของแต่ละคน

ภาพคนครึ่งตัว La Berceuse Portrait Of Madame Roulin ของ Vincent Van Gogh

ที่มา : http://ayay.co.uk/background/paintings/vincent_van_gogh/la-berceuse-portrait-of-madame-roulin/ (5, 2559)
3.      มุมมองแบบเต็มตัว มักมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท่าทาง หรือการแต่งกายของคนเข้าไปร่วมด้วยเพื่อสื่อความหมายที่ต้องการแสดงออกให้สมบูรณ์ ทำให้มีความจำเป็นต้องแสดงออกให้เห็นคนทั้งตัว
      ศิลปิน Teresa Elliott
 ที่มา : http://www.welikeviral.com/kid-photographs-something-amazing.html
4.      มุมที่ไกลออกไป หรือแบบทิวทัศน์ ภาพแบบนี้จำเป็นต้องมีภาพทิวทัศน์เพื่อประกอบให้เนื้อหาของคนสมบูรณ์ขึ้น
             
                                     ศิลปิน Winslow Homer
        ที่มา : http://www.winslowhomer.org/snap-the-whip.jsp (5, 2559)


5.      ภาพที่แสดงถึงสังคมมนุษย์ มุมมองของคนจำนวนมากๆ รวมกันอยู่ในภาพๆ หนึ่ง ศิลปินอาจต้องการแสดงกิจกรรมบางอย่างที่มีคนจำนวนมากมายเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้ภาพดูสมจริงตามเนื้อหาที่ต้องการแสดงออก
 
ศิลปิน Pierre-August Renoir 
ที่มา : http://www.josevivas.fr/Sauvegarde/images/Histoire/Les%20sociabilit%C3%A9s%20au%20XIX%C3%A8me%20si%C3%A8cle/Renoir%20Moulin%20de%20la%20galette3.jpg (5, 2559)

ภาพคนในงานจิตรกรรมเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก  ยิ่งเมื่อได้ศึกษาเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นแล้ว ยิ่งเป็นสิ่งที่น่าจะค้นคว้าให้ละเอียดต่อไปเป็นอย่างยิ่ง อาจเป็นด้วยเสน่ห์ของความเป็นภาพคนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตผู้คนที่มีมุมมองที่แตกต่างออกไป เหมือนเราได้ตามศิลปินออกไปดูชีวิตผู้คนที่หลากหลาย ทำให้ความน่าสนใจของการสร้างสรรค์ภาพคนยังคงมีต่อไป ทั้งที่ดำเนินมาแล้วตั้งแต่อดีต มายังปัจจุบัน และดำเนินต่อไปในอนาคตอีกยาวไกล คนก็น่าจะยังเป็น รูปทรงที่ถูกศิลปินนำมาสร้างสรรค์ในแบบกันต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด