วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เอกภาพ (Unity) เอกภาพในงานศิลปะ

เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความกลมกลืน เข้ากันได้

ศิลปิน Henri Rousseau
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939031422744/

ในทางศิลปะ เอกภาพ หมายถึง การประสานกันของรูปทรง การจัดระเบียบให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกัน 


เราสร้างงานศิลปด้วยการสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน หยุ่งเหยิง จัดระเบียบเพื่อให้สิ่งขัดแย้งรวมตัวกันได้


เอกภาพของรูปคิด รูปความคิดจะต้องมีเอกภาพในตัวเอง มีรูปความคิดหลัก รู้ความคิดรอง มีความหมายในตัวเอง มีความสัมพันธ์กันกับรูปทรง


กฏเกณฑ์หลักของเอกภาพ 

1. การขัดแย้ง คือ สิ่งขัดแย้งที่เป็นคู่ตรงช้ามเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ภาพ เช่น การขัดแย้งของรูปทรง ขนาด ทิศทาง ที่ว่าง หรือ จังหวะ น้ำหนัก ลักษณะผิว
2. การประสาน คือการทำให้เกิดความกลมกลืน เกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ ด้วยการใช้ตัวกลาง และ การซ้ำ


 

กฏเกณฑ์รองของเอกภาพ 

1. ความเป็นเด่น เกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ ความเป็นเด่นที่เกิดจากความขัดแย้ง และความเป็นเด่นที่เกิดจากเปลี่ยนแปร
2. ความเปลี่ยนแปร มี 4 แบบ คือ การเปลี่ยนแปรของรูปร่างลักษณะ ขนาด ทิศทาง ที่ว่างหรือจังหวะ




อ้างอิง 
ศ.ชลูด นิ่มเสมอ, องค์ประกอบของศิลปะ

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ใบงาน วิชาพื้นฐานองค์ประกอบศิลป์


ดาวโหลดไฟล์ได้ที่นี่ คลิ๊กเลย!

          ใบงานสำหรับบันทึกงานของนักเรียน ตามหัวข้อ ให้ใส่ความที่ส่ง เกรด และภาพงานของนักเรียน ตามภาพด้านล่าง และสามารถดาวน์โหลดไฟล์ word ที่ลิงค์ด้านบน



วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ผลงานศิลปะที่ใช้ สีโทนเย็น (Cool Tone) ในการสร้างสรรค์

               สีเย็น (Cool Tone)ใช้แล้วทำให้เกิดความรู้สึก สบาย ๆ เย็น สงบ ดังตัวอย่างผลงานศิลปะดังต่อไปนี้

ศิลปิน Vincent van Gogh

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/563018673696733/

ศิลปิน Lizzie Riches

ที่มา : https://artvee.com/dl/the-gardeners-assistant/

ศิลปิน Maximilian Liebenwein

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030673999/

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ผลงานศิลปะที่ใช้ สีโทนร้อน (Warm Tone) ในการสร้างสรรค์

              

                สีโทนร้อน (Warm Tone) เมื่อนำไปใช้แล้วทำให้เกิดความรู้สึก อบอุ่น ร้อนแรง สดใส ร่าเริง ดังตัวอย่างผลงานศิลปะดังต่อไปนี้

ศิลปิน Kate Brinkworth

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030674042/

ศิลปิน Henri Matisses

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/140806219683393/

ศิลปิน David Galchuttis 

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030674240/

               สีเย็น (Cool Tone) 





วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ผลงานศิลปะที่ใช้แม่สี (primary colors) ในการสร้างสรรค์

                แม่สีวัตถุ (Primary Colors) นับเป็นสีที่มีความขัดแย้งกันเองเป็นอย่างมาก หากนำแม่สีมาใช้ร่วมกันภายในงานชิ้นเดียวกันก็จะต้องมีการใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งการนำสีอื่นเข้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ดังตัวอย่างผลงานที่ศิลปินนำแม่สีมาใช้ในการสร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้ 


ศิลปิน Piet Mondrian
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030663853/

ศิลปิน Dimitri Drjuchin
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/144537469300454542/

ศิลปิน Brice Marden
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030663949/

ศิลปิน Roy Lichtenstein
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030663956/

ศิลปิน Keith Haring
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939027175508/


ศิลปิน Wassily Kandinsky
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030671139/

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สี (Color) ทัศนะธาตุทางศิลปะ กับการนำไปใช้

 คำจำกัดความของสี

1. แสงที่มีความถี่คลื่นในขนาดที่ตามนุษย์รับสัมผัสได้

2. แม่สีที่เป็นวัตถุ ได้แก่ แดง เหลือง น้ำเงิน

3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี

คุณลักษณะของสี

1. ความเป็นสี (Hue) หมายถึงว่า เป็นสีอะไร เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว เป็นต้น

2. น้ำหนักสี (Value) ความสว่างของความมืดของสี

3. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสี สีที่ถูกผสม ความสด หรือ ความบริสุทธิ์จะลดลง

หน้าที่ของสี สีทำหน้าที่เช่นเดียวกับน้ำหนัก แต่เพิ่มหน้าที่สำคัญ คือ สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างหลากหลาย

การใช้สี 

มี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ สีกลมกลืน กับ การใช้สีขัดแย้ง แต่สองวิธีนี้ยังสามารถแยกวิธีใช้สีได้อีกหลายวิธี เช่น

1. สีเอกรงค์ (Monochrome) การใช้สีกลมกลืนแบบสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายระดับ


ศิลปิน Qiand-Huang
ที่มา: https://www.pinterest.com/pin/AQZWzzLa6guxunv7IwY08dbeZCORN4kKouMW7A0ju4uNkEEi0jnhKRY/

2. สีข้างเคียง เป็นการใช้สีกลมกลืน โดยสีที่ใ่่ช้เป็นสีที่อยู่ใกล้กันในวงจรสีธรรมชาติ อาจใช้สี 2-3 สี

ศิลปิน Yoko Kurihara
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030481221/

3. สีตรงข้าม เป็นการใช้สีแบบขัดแย้งกันด้วยการใช้สีคู่ขัดแย้งในการสร้างสรรค์

ศิลปิน Anna Valdez
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030091841/

4. สีเกือบตรงข้าม เป็นการใช้สีที่มีความขัดแย้งกันแต่ยังน้อยกว่าสีคู่ตรงข้าม 

ศิลปิน อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/590816044864941563/

5. แม่สี 3 สี ใช้แม่สีในการสร้างสรรค์งาน มีความขัดแย้งในความสดของแม่สี

ศิลปิน Keith Haring 
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030589192/

6. สีคู่ 2 คู่ มีความขัดแย้งแต่จะน้อยกว่าการใช้สีแบบสีคู่ขัดแย้งคู่เดียวเนื่องจากถูกลดความขัดแย้งลงด้วยสีคู่ที่สองที่เพิ่มเข้ามา

ศิลปิน Leonard Koscianski
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030751453/


วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ที่ว่าง (ทัศนธาตุทางศิลปะ)

ศิลปิน Jeppe Hein
ที่มา : 
https://www.rgrart.com/artists/jeppe-hein

ที่ว่าง (Space) คือ สถานที่ พื้นที่ต่าง ๆ สำหรับวางรูปทรงลงไปแสดงออกในสิ่งที่ศิลปินต้องการแสดงออก

คำจำกัดความของที่ว่าง 

1. ปริมาตรที่วัตถุหรือรูปทรงกินเนื้อที่อยู่

ศิลปิน Gabby Malpas

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/ARS5H4-qzd0alFavGBEiUwP-QDzjC3Y76esG3FyA-XfX9OBtRiLB1_4/

2. อากาศที่โอบล้อมรูปทรงอยู่

ที่มาของรูป ศันสนีย์  รุ่งเรืองสาคร

3. ระยะห่างระหว่างรูปทรง

ที่มาของรูป ศันสนีย์  รุ่งเรืองสาคร

4. ปริมาตรของความว่างที่ถูกล้อมรอบด้วยขอบเขต

ศิลปิน Suzanne Etienne

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030091882/

5. พื้นที่ของระนาบ 2 มิติ ที่ใช้เขียนรูปลงไป

ที่มาของรูป ศันสนีย์  รุ่งเรืองสาคร

6. การแทนค่าของความลึกลงบนระนาบ 2 มิติ

ศิลปิน Anna Pater
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939015408929/

7. ปฏิกริยาระหว่างน้ำหนัก สี และรูปทรง ที่มีผลต่อประสาทตา  Ob Arts

ศิลปิน Edna andrade
ที่มา https://www.pinterest.com/pin/510454939028511063/

ลักษณะของที่ว่าง

1. ที่ว่างจริง และ ที่ว่างลวงตา

2. ที่ว่างแบบ 2 มิติ

3. ที่ว่างแบบ 3 มิติ

4. ที่ว่างที่เป็นกลาง

5. ที่ว่างบวก และ ที่ว่างลบ

6. ที่ว่างสองนัย

แบบรูปของที่ว่าง 

1. แบบรูปปิด มีเส้นรอบนอกล้อมบรรจบกัน


ศิลปิน Keith Haring
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030257536/

2. แบบรูปเปิด มีเส้นรอบนอกเปิดออก บางจุด หรือหลายจุด

ศิลปิน Zhang Xiaogang

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030750048/

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เส้น (ทัศนธาตุทางศิลปะ)

อ้างอิง : องค์ประกอบศิลปะ, ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ

Rona and Erwan Bouroullec Designer
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030994406/

เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่ง เส้นขั้นต้นที่เป็นพื้นฐานมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง กับเส้นโค้ง


คำจำกัดความของเส้น

1. เส้นเกิดจากจุดที่เรียงต่อกันในทางยาว หรือร่องรอยของจุดที่ถูกแรงผลักให้เคลื่อนที่ไป



ที่มาของภาพ ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร

2. เส้นเป็นขอบเขตของที่ว่าง ขอบเขตของสิ่งของ ขอบเขตของรูปทรง ขอบเขตของน้ำหนัก และขอบเขตของสี เช่น ภาพของ เส้นรอบนอกรูปสุนัขในผลงานของ Keith Haring 

ผลงานของ Keith Haring
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939029929824/

3. เส้นเป็นขอบเขตของกลุ่ม สิ่งของ หรือรูปทรงที่รวมกันอยู่ เป็นเส้นโครงสร้างที่เห็นได้ด้วยจินตนาการ เช่น ในผลงานของ วินเซนต์ ในภาพดอกทานตะวัน เป็นภาพกลุ่มของดอกทานตะวันหลายดอกที่อยู่ในแจกัน

ผลงานของ Vincent Van Gogh
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939028715084/

คุณลักษณะของเส้น เส้นมีมิติเดียวคือ ความยาว มีลักษณะต่าง ๆ มีทิศทาง และมีขนาด

-ลักษณะต่าง ๆ ของเส้น ได้แก่ เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก เป็นต้น

-ทิศทางของเส้น ได้แก่ เฉียง ดิ่ง ซ้าย ขวา

-ขนาดของเส้น ความหนาของเส้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความยาว ถ้าเส้นสั้นและมีความหนามาจะหมดคุณลักษณะของความเป็นเส้น กลายเป็นรูปร่าง (Shape) สี่เหลี่ยม

ความรู้สึกที่เกิดจากลักษณะของเส้น

1  1.  เส้นตรงให้ความรู้สึก แข็งแรง แน่นอน ไม่ประณีประนอม
2. เส้นโค้งให้ความรู้สึกสบาย เลื่อนไหล ต่อเนื่อง ผู้หญิง นุ่มนวล
3. วงกลม ความสมบูรณ์ น่ารัก เป็นระเบียบ การซ้ำของทิศทางของเส้น
4.  ก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย เติบโต การเคลื่อนไหวไม่สิ้นสุด  มึนงง
5.  ฟันปลา พลังไฟฟ้า ฟ้าผ่า รุนแรง ขัดแย้ง สงคราม

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

รูปทรง 3 มิติ

ตัวอย่างผลงานที่เป็น 3 มิติ โดย ศิลปิน Irakli Nadar 
ที่มา : https://en.goodtimes.my/2017/11/24/photograph-lady-may-seem-normal-may-amazed-secret-behind/

          รูปทรงที่มี 3 มิติ คือ กว้าง คูณ ยาว คูณ หนา มีความกลม ความลึก เป็นการระบายสีแบบไล่น้ำหนัก สร้างความลึก ความมีมิติให้แก่ภาพ


                    เป็นการการระบายสีแบบไล่ค่าน้ำหนักลวงตาให้เกิดความรู้สึกว่าวัตถุมีมิติ มีความลึก ลักษณะแบบเดียวกันกับ การ์ตูน 3D หลายเรื่อง เช่น Toy Story

ที่มาของภาพ https://www.pinterest.com/pin/510454939030028363/

ตัวอย่างงาน ที่เป็น 3 มิติ

ศิลปิน Christian Rex Van Minnen


ที่มาของภาพ : https://www.pinterest.com/pin/510454939030131507/


วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

รูปร่าง (Shape)

                    รูปร่าง (Shape) คือ รูปนอกของรูป มีลักษณะแบบ 2 มิติ คือ ความกว้าง คูณ ความยาว 



                    เป็นการการระบายสีแบบแบน ๆ สามารถสร้างค่าน้ำหนักด้วยการใช้ ความอ่อน ความแก่ของน้ำหนักเพื่อลวงตาให้เกิดความลึก ลักษณะแบบเดียวกันกับ การ์ตูน 2D หลายเรื่อง เช่น โดเรม่อน

ภาพการ์ตูนโดเรม่อน ที่มา https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1034058

ตัวอย่างผลงานที่เป็นแบบ 2 มิติ 

1. Yayoi Kusama

ที่มาของภาพ https://www.guyhepner.com/product/lemon-squash-by-yayoi-kusama/
ที่มาของภาพ https://www.artsy.net/artwork/yayoi-kusama-lemon-squash
2. Claire Scully 
ที่มาของภาพ https://apeonthemoon.com/2016/07/13/moonlight-and-silent-scenes-in-new-book-by-claire-scully/

ที่มาของภาพ http://www.clairescully.com/nocturnal-vulpes-vulpes/ipx34klqgq6n22gzgjdk3c0wqie5mu

องค์ประกอบศิลป์ คืออะไร

 

                องค์ประกอบศิลป์ คือ ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในงานศิลปะ สามารถ แบ่งแยกออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นรูปทรง

                 เนื้อหา คือ ผลที่ได้รับจากงานศิลปะ ความคิด ความรู้สึก ทัศนะ ต่าง ๆ ที่ศิลปินสร้างขึ้น

                 รูปทรง คือ ส่วนที่มองเห็นได้ในงานศิลปะ ประกอบด้วย ทัศนธาตุต่าง ๆ ได้แก่ จุด เส้น น้ำหนัก ลักษณะผิว ที่ว่าง สี รูปทรง มี 2 แบบ คือ

                       1. รูปร่าง 2 มิติ คือ กว้าง คูณ ยาว เป็นการระบายสีแบบแบน ๆ

                        2. รูปทรง 3 มิติ คือ กว้าง คูณยาว คูณลึก เป็นการระบายสีแบบไล่น้ำหนัก ดูลวงตาว่ามีความลึก