วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

การทำแฟ้มนำเสนอผลงาน (ศิลปะ) เพื่อการสอบเข้าเรียนต่อ (Portfolio)

             ช่วงนี้มีการสอบเข้าเรียนที่ประเมินจากแฟ้มผลงานของเรากันในหลาย ๆ สถานศึกษา โดยเฉพาะสถานศึกษาด้านศิลปะ แฟ้มผลงานจะเป็นตัวแนะนำตัว ความรู้ความสามารถของเราได้เป็นอย่างดี ทำให้กรรมการมองเห็นจุดเด่นต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถที่เรามีได้อย่างเด่นชัด ดังนั้นการจัดแฟ้มผลงานจึงนับมีความสำคัญอย่างยิ่ง เราจะจัดแฟ้มผลงานของเราอย่างไรให้ครบและดูมีคุณค่า น่าสนใจ            

            ส่วนประกอบของแฟ้มผลงานมีอะไรบ้าง

            1. ปก จะเป็นแบบเรียบ ๆ สีล้วน หรือ มีลวดลายที่สวยงามก็ได้ แต่ภาพรวมจะต้องดูเรียบร้อย สะอาดตาสามารถสร้างสรรค์ในแอพพลิเคชั่น Canva ได้


ตัวอย่างปกที่ทำใน Canva

            2. ประวัติ ส่วนของประวัติจะเป็นตัวบอกรายละเอียดที่เกี่ยวกับเราทั้งหมด ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง

             ชื่อ - นามสกุล

            รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์

            ประวัติการศึกษา

            เกียรติประวัติ รางวัลที่เคยได้รับ แต่ถ้าหากไม่มีก็ไม่ต้องใส่

            ประสบการณ์ในการแสดงผลงานศิลปะ หรือ การเข้าร่วมอบรม สัมมนา การเข้าร่วม Workshop ต่าง ๆ 

 

หน้าประวัติ และรายละเอียดผลงาน ทำใน canva

           3. รูปภาพผลงาน ควรถ่ายภาพให้คมชัด ครบถ้วน ขนาด ไม่เล็กเกินไป หากเป็นภาพที่ใหญ่มากมองไม่เห็นรายละเอียด ก็อาจถ่ายให้เห็นในส่วนที่อยากแสดงในรายละเอียดเพิ่มเติมได้  คัดเอาสิ่งที่เป็นใจความสำคัญมานำเสนอ

            4. รูปภาพการเข้าร่วมอบรมต่าง ๆ (ถ้าหากมี)  การแสดงงาน ฯลฯ ที่เราคิดว่ากรรมจะสนใจในประสบการณ์ส่วนนั้น


วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565

การทำรายงาน Portfolio วิชาพื้นฐานองค์ประกอบศิลป์

                การทำรายงาน วิชาพื้นฐานองค์ประกอบศิลป์ คล้ายกับการทำ หนังสือรวบรวมผลงาน หรือ พอร์ตฟอลิโอ (Portfolio) ที่เราใช้ในการนำเสนอเพื่อการสมัครงาน หรือ เพื่อการสมัครเรียนต่อ แต่ต่างกันนิดหน่อยตรงเพิ่มเนื้อหาวิชานี้ที่ได้เรียนไปแล้วใส่ลงมาด้วย ส่วนที่เหมือน ๆ กัน คือ ปก ประวัติ และ ตัวผลงานที่เราต้องการนำเสนอ 

                รายงานฉบับนี้แยกการให้คะแนนในแต่ละส่วนเท่า ๆ กัน เนื่องจากเนื้อหาทุกส่วนล้วนมีความสำคัญ  หากส่วนใดขาดหายไป คะแนนในส่วนนั้นก็จะขาดหายไปด้วย จึงควรทำให้ครบทุกส่วน ทั้งหมดก็จะประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

               1. ปก ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ออกแบบจัดทำให้สวยงาม มีความเรียบร้อย ด้านหน้าอาจจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่จัดวางอย่างสวยงามมีความเกี่ยวข้องกับตัวเรา และวิชาที่นำเสนอสามารถออกแบบได้หลายรูปแบบแต่ภาพรวมจะต้องดูแล้วเรียบร้อยสะอาดตา และต้องไม่ลืมปกหลังด้วย ปกหลังควรจะต้องมีความสอดคล้องกับด้านหน้าด้วย เช่น หากด้านใช้สีเขียวเป็นส่วนใหญ่ ก็อาจจะเลือกให้มีปกสีเขียวล้วนที่เป็นเดียวกันกับด้านหน้าก็จะทำให้ปกดูเสร็จสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ แอฟพลิเคชั่น canva ก็เป็นตัวเลือกที่สามารถสร้างสรรค์ปกได้อย่างสวยงามเรียบร้อย

ปกที่ 1 ของ ภัทรานิษฐ์  พัฒนชนม์                 ปกที่ 2 ของ วรัญญา  ช้างแก้ว

               2. ประวัติ เปิดมาหน้าแรก จะต้องเป็น ประวัติ ของเรา โดยมีข้อมูลที่ต้องใส่ คือ ชื่อ-นามสกุล เลขที่ ห้อง นอกจากนั้นก็จะเป็น ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลที่อยากนำเสนอ รางวัลที่เคยได้รับ ประวัติที่เคยแสดงผลงานศิลปะ เช่น

 
          ประวัติที่  1 ของ ทิพย์วิมล สนองคุณ         ประวัติที่ 2 ของ ภัทรานิษฐ์  พัฒนชนม์

               3. เนื้อหาที่เรียน เนื้อหาส่วนนี้จะลงไว้ให้ในส่วนของ อัลบั้มที่อยู่ในไลน์กรุ๊ป ที่ใช้ในการเรียน ได้จัดหมวดหมู่ไว้ให้ตาม ลำดับ แล้ว สามารถ นำเนื้อหาเพิ่มเติม จากหนังสือ ตำรา ได้

               4. ภาพผลงานที่ทำ ผลงานที่ทั้งหมดในเทอมที่จะทำรายงาน สามารถนำงานจริงมาใส่ได้เลยก็ได้ หรือ ถ่ายภาพก่อนแล้วค่อยนำไปจัดรูปเล่มก็สามารถทำได้

               ส่วนของ ปก ต้องอยู่หน้าแรก  กับ ประวัติ ต้องอยู่ในหน้าถัดไป  ส่วนอื่น ๆ ของรูปเล่ม เนื้อหา ภาพผลงานศิลปะ สามารถจัดเรียงได้ตามความเหมาะสม  สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565

รูปตัวอย่างสำหรับวิชาทัศนธาตุทางศิลปะ

 
ประเภทของรูปทรง

รูปทรงเรขาคณิต

รูปทรงสิ่งมีชีวิต

รูปทรงอิสระ 

การประกอบกันของรูปทรง ตัวอย่าง 7 แบบ ดังต่อไปนี้

1. รูปทรงที่เคียงกัน

2. รูปทรงที่ต่อเนื่องกัน

3. รูปทรงที่ซ้อนกัน

4. รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน

5. รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน

6. รูปทรงที่สานเข้าด้วยกัน

7. รูปทรงที่บิดพันกัน

ทัศนธาตุ 6 แบบ ได้แก่

1. จุด

2. เส้น

3. น้ำหนัก

4. ลักษณะผิว

5. ที่ว่าง

6. สี


ผลงานของ Marina Apollonio

ที่มา : http://mondo-blogo.blogspot.com/2011/01/i-think-i-hit-optic-nerve.html

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2565

จังหวะ ที่อยู่ในงานศิลปะ (Rhythm)

                 จังหวะ (Rhythm) ที่อยู่ในงานศิลปะ ขึ้นชื่อว่าจังหวะแล้วย่อมมีลักษณะของการซ้ำของรูปทรงเกิดขึ้นคล้ายการซ้ำของจังหวะดนตรี ที่มีการเคาะถี่ห่างให้เป็นไปในอารมณ์เพลง

                จังหวะในทางศิลปะ คือ ลักษณะของรูปแบบวิธีการจัดวางกลุ่มรูปทรงให้เป็นไปตามแนวคิดที่ต้องการแสดงออก ตัวอย่างผลงาน

Wassily Kandinsky
ที่มา : https://www.wassilykandinsky.net/work-50.php
ผลงานของ Kayama Matazo
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939021846496/
ผลงานของ Coen Kaayk
ที่มา : https://imperiovida.tumblr.com/post/61709475494/jadore-when-i-find-a-new-artist-to-obsess-over


ผลงานของ Matt McConnell "Rhythm"
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/13933080073791421/

ผลงานของ Miho Hirano

ที่มา : https://artpeople.net/2016/06/miho-hirano-fantasy-paintings/


วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2565

ดุลยภาพ อสมมาตร (Asymmetry) สองข้างไม่เหมือนกัน

                 เป็นความสมดุลยแบบรูปทรง หรือโครงสร้างของผลงานไม่ต้องเหมือนกันทั้งทางด้านซ้าย หรือขวา แต่จะใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักรูปทรงด้วยการเลื่อนรูปทรงไปมา หรืออาจจะใช้ ขนาด น้ำหนัก ลักษณะผิว ความน่าสนใจของรูปทรง ในการถ่วงดุลย์รูปทรงด้วยสายตา และท้ายที่สุดแล้วผลงานจบด้วยความมีดุลยภาพ ตัวอย่างผลงาน

ผลงานของ Criss Channing
ที่มา : https://mama-zima2013.livejournal.com/271359.html
ผลงาน อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939025241275/
ผลงานของ Fiona Craig
ที่มา : https://fineartamerica.com/featured/pink-lotuses-fiona-craig.html?epik=dj0yJnU9TGlDdS1oMjZZSHJpbjJqX2JTVTBVekExNXZpQ2JvMjEmcD0wJm49dm9KeHQxTHdiNGU3QnNUb2U3d3UtZyZ0PUFBQUFBR0phckRB

ผลงานของ Jessie Arms Botke
ที่มา : https://art-and-things-of-beauty.tumblr.com/post/165664709064/cockatoos-by-jessie-arms-botke-american 


ผลงานของ Mark Ryden

ที่มา : https://www.wikiart.org/en/mark-ryden/the-butcher-bunny-2000

ดุลยภาพ แบบสมมาตร (Symmetry) สองข้างเหมือนกัน

                 ความสมดุลย์แบบสมมาตร เมื่อเราผ่าตรงการของภาพจากบนลงล่างแล้ว ทางด้านซ้ายและทางด้านขวามีโครงสร้าง องค์ประกอบ การจัดวางต่าง ๆ ที่เหมือนกัน ดุลยภาพแบบนี้ให้ความรู้สึกสงบนิ่ง มักเป็นที่นิยมในแทบเอเชีย เช่น พระพุทธรูป โบสถ์ วิหาร ต่าง ๆ ผลงานตัวอย่าง ต่อไปนี้

วัดพระศรีอารีย์ จังหวัดราชบุรี
ที่มา : https://www.wreathmala.com/วัดไทยสุดunseen/

ผลงานอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/168181367326884378/

ผลงานของ Criss Channing
ที่มา : https://je-nny.livejournal.com/6794419.html?view=13379763#t13379763


ผลงานของ Daryl Gortner     
ที่มา : https://skidmorecontemporaryart.com/gumball-borealis/


ผลงานของ Kenne Gregoire
ที่มา : https://vueloaptero.tumblr.com/post/47718774504/kenne-gregoire

สัดส่วนทอง (Golden Section)

                 สัดส่วน คือการกล่าวถึง ความเกี่ยวข้องกลมกลืนกันของขนาดของรูปทรงที่มีความงามตามความหมายที่ศิลปินต้องการแสดงออก สัดส่วนที่แตกต่างกันสามารถแสดงความรู้สึกได้แตกต่างกัน รูปร่างของหญิงสาวที่งดงามในแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่างกัน บางยุค หรือบางชนชาตินิยมหญิงสาวเจ้าเนื้อ แต่บางถิ่นที่นิยมหญิงสาวผอมบาง

                สัดส่วนทอง เป็นสัดส่วนที่ชาวกรีกได้สร้างไว้ โดยกล่าวถึงขนาดต่าง ๆ ในผลงานที่มีความสัมพันธ์กัน ส่วนที่มีขนาดเล็ก สัดส่วนขนาดกลาง สัมพันธ์กันกับส่วนที่มีขนาดใหญ่ หรือ สัมพันธ์กันกับรูปทรงอื่น ๆ ทั้งหมดในผลงาน ได้อย่างกลมกลืนกัน

Golden Section
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939017223384/
                จะเห็นว่าเส้นโค้งก้นหอยแสดงความต่อเนื่องกันของรูปทรงตั้งแต่ขนาดเล็กไปถึงใหญ่ที่สุด ลองดูรูปต่อไปที่ใช้รูปทรงในหลายขนาดโดยใช้กฏนี้
การเปรียบเทียบกับต้นไม้
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939017536612/
เปรียบเทียบกับงานศิลปะระดับโลก
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939017223477/
                      จะเห็นได้ว่าการใช้สัดส่วนแบบนี้ อาจใช้ได้หลายครั้งในงาน 1 ชิ้น หลักการก็คือ ขนาดของรูปทรงที่มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน รูปทรงจะค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น กลมกลืนกับขนาดที่ใหญ่กว่าไปเรื่อย ๆ 

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565

ลักษณะผิว (Texture) ทัศนธาตุทางศิลปะ

             ลักษณะผิว คือ ผิวสัมผัสของรูปทรง ทั้งเรียบ ไปจนหยาบ รูปทรงทุกสิ่งล้วนมีลักษณะผิวเป็นของตัวเอง ลักษณะผิวมี 2 ชนิด คือ ลักษณะผิวจริง กับ ลักษณะผิวที่ทำเทียมขึ้น ตัวอย่างผลงานในลักษณะผิวแบบต่าง ๆ


ศิลปิน Yoko Kurihara

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939030028677/

ศิลปิน Rachel Newling

ที่มา : https://www.rachelnewling.com/australian-birds-linocuts-rachel-newling-gallery-2

Caitlin Foster

ที่มา : https://www.caitlinfoster.net/illustration-1/2017/9/7/geodes-for-rei

Denis Sarazhin

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/508062401702847298/

Yayoi Kusama
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939020750521/

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939021135225/

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939027058399/
ศิลปิน Otoniel Borda Garzón
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939028150777/

น้ำหนัก (Tone) ทัศนธาตุทางศิลปะ

             

ผลงานของ Howard Phipps
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/635711303669184170/

            น้ำหนัก คือ สีขาว สีดำ และสีเทาที่มีความเข้มหลายระดับอยู่ระหว่างดำกับขาว มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน

      หน้าที่ของน้ำหนัก

1.        ให้ความแตกต่างระหว่างรูปกับพื้น

2.        ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวด้วยการนำสายตาของผู้ดู

3.        ให้ความเป็น 2 มิติแก่รูปทรง

4.        ให้ความเป็น 3 มิติแกรูปทรง

5.        ให้ความลึกในภาพ

          6.        ให้ความรู้สึกด้วยการประสานกันของน้ำหนัก  

ศิลปิน Kumi Yamashita
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/987766130745823778/

ศิลปิน  Randolph Caldecott

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/323625923193717989/

                 น้ำหนักช่วยสร้างความต่างระหว่างรูปกับพื้น ช่วยสร้างความลึกให้แก่ภาพ ทำให้ภาพเกิดความมีมิติลวงตา แม้งานที่เป็นวัตถุจริงก็มีน้ำหนักจริงตามธรรมชาติ ตัวอย่างของน้ำหนักแบบต่าง ๆ

Fred Salmon
ที่มา : https://cedarstreetgalleries.com/bin/detail.cgi?ID=6461
Danny Jauregui
ที่มา : https://society6.com/dannyjauregui
Leigh-Anne Eagerton
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/4855512090622240/



ผลงานศิลปะที่ใช้เส้นเป็นหลัก

             เส้น เป็นอีกทัศนธาตุที่มีความสำคัญ เส้นสามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างหลากหลาย และสามารถสร้างรูปทรงได้มากมายนับไม่ไหว ตัวอย่าง การนำเส้นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

Keith Haring
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939026150196/
Jill Gallenstein
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939026222770/
Di Oliver
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939026384833/

จุด (Point) ทัศนธาตุทางศิลปะ ผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยจุด

             จุดเป็นธาตุเบื้องต้น มีขนาดเล็กที่สุดในการสร้างรูปทรง จุดมักถูกใช้เป็นลักษณะผิว หรือ น้ำหนัก ให้แก่ภาพ ตัวอย่างของการนำจุดไปใช้ในการสร้างสรรค์

Yayoi Kusama
ที่มา : https://mucciaccia.com/en/yayoi-kusama-mucciaccia-gallery-new-york/

ศิลปิน Georges Seurat
ที่มา :https://www.theartstory.org/artist/seurat-georges/ 


ผลงานของ Chuck Close
https://www.pinterest.com/pin/510454939015372401/

Ebova
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/813392382705411278/
Ebova

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/510454939023892757/

Pablo Jurado Ruiz
ที่มา : https://www.behance.net/pablojuradoruiz

ศิลปิน Fredy Brady

ที่มา : https://www.outstation.com.au/stockroom/fredy-brady-ngayuku-ngura-country/