วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

กีฬาสีของเด็กศิลป์(ช่างศิลป ลาดกระบัง) ประจำปี 59

          ทุกคนคงเคยเข้าร่วม หรือได้เห็นการจัดงานกีฬาต่างๆ มามากมายทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาคต่างๆ และแน่นอนทุกคนก็เคยเป็นเด็กย่อมพบเห็นงานกีฬาสีมาตั้งแต่เป็นเด็ก อนุบาล ประถม มัธยม มาบ้าง เราคงจินตนาการกันไม่ออกว่าในโรงเรียนที่เรียนศิลปะ เขามีกีฬาสีกันบ้างไหมหนอ และจะเป็นอย่างไร
ภาพ พิธีเปิดงานกีฬาสีของ วิทยาลัยช่างศิลป ลาดกระบัง ในวันที่ 20 มกราคม 2559

          แน่นอนการกีฬาไม่น่าจะเด่น  เพราะพวกเราถนัดขีดๆ เขียนๆ กันซะมากกว่า วันๆ เราก็เอาแต่ฝึกๆๆ วาดๆๆๆ จะเอาเวลาที่ไหนไปฝึกกีฬาอีก แต่ที่จริงมันก็สำคัญนะควรเล่นกีฬากันบ้างแต่ไม่ต้องจริงจังแต่ก็เพื่อสุขภาพก็ยังดี
ภาพของกองเชียร์สีเทา

ภาพของกองเชียร์สีแดง

ภาพของกองเชียร์สีน้ำเงิน และ สีเขียว

          และที่เราแข่งกันก็เพื่อความสนุก เท่านั้น เช่น แข่งเกมกินวิบาก เกมเตะปี๊บ อะไรพวกนี้
          แต่สิ่งที่โดดเด่นและทุ่มเทมากมาย กลับกลายเป็นการเชียร์กีฬาซะมากกว่า ก็มันน่าจะตรงกับศาสตร์ในการร่ำเรียนของเราที่สุดแล้วละ และปีนี้ก็เช่นกัน นักเรียน และนักศึกษาต่างก็ตั้งใจฝึกซ้อมกันอย่างเต็มที่ๆ สุด เห็นแล้วซึ้งพร้อมขนลุกไปในตัว ถ้าตอนเรียนแล้วนักเรียน นักศึกษามีความตั้งใจได้อย่างนี้คงจะดีมากๆ

          ปีนี้สีที่ชนะเลิศได้แก่สีแดง เตรียมการซ้อมมาอย่างดีเยี่ยม ถึงเวลาแสดงก็ทำได้ดีมากดูสนุกตื่นเต้นดีมาก แถมรู้จังหวะแสงที่ตกอีกแน่ะ ทำให้ภาพออกมาดูโดดเด่นดีมาก มีภาพเคลื่อนไหวของการแสดงด้วยไปดูกัน

          ส่วนสีอื่นๆ ก็ทำได้ดี สวยงามตั้งใจกันทุกๆ สี มีภาพเคลื่อนไหวเช่นกัน ไปดูเลย
สีเขียว

สีเทา

และสุดท้าย สีน้ำเงิน

          เป็นอย่างไรบ้าง สวยงามสมความตั้งใจจริงๆ ปีหน้าฟ้าใหม่ของงานกีฬา แล้วจะนำมาให้ชมกันอีกนะจ้ะ ปีนี้ 2559 จบสวยจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

ศิลปะกับจักรยาน

          ช่วงนี้วิทยาลัยช่างศิลป กำลังสร้างสรรค์ศิลปะด้วยจักรยาน มีการนำจักรยานที่ใช้แล้ว มาก่อรูปร่างใหม่ให้เป็นวงกลมขนาดใหญ่  ประมาณชั้นครึ่ง
          มีการแบ่งจักรยานเพื่อนำไปสร้างสรรค์ในหลายๆ รูปแบบ หมวดต่างๆ ก็นำไปสร้างจักรยานที่มีรูปแบบต่างๆ กันอย่างสนุกสนาน
          หมวดองค์ประกอบก็นำจักรยานมาทำด้วยเช่นกัน ออกแบบโดย อาจาย์อรนิต ดะห์ลัน และ อาจารย์ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร และมีนักเรียนปี 3 มาร่วมด้วยช่วยกันตกแต่งจักรยาน อีก 6 คน

                                           โฉมหน้าของจักรยานที่ถูกตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว

                    โฉมหน้าของอาจารย์ศันสนีย์ และ อาจารย์อรนิต (เรียงชื่อตามลำดับการยืนในภาพ)

          นอกจากนี้ยังมีการนำจักรยานนั้นมาสร้างสรรค์เป็นภาพเคลื่อนไหวด้วย โดยมีอาจารย์อรนิต อาจารย์ศันสนีย์ อาจารย์ธนิดา และอาจารย์จริยา และนักเรียนอีกหลายท่านมาร่วมสนุก กับการสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหวในครั้งนี้ด้วย ไปชมภาพกัน

ภาพเคลื่อนไหวในการขี่จักรยานที่นำมาตกแต่ง
          

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

เซอร์ริวลิซึ่ม (Surrealism) ศิลปะแบบเหนือจริง



          เซอร์ริวลิซึ่ม (Surrealism) ศิลปะแบบเหนือจริง

เป็นลัทธิทางศิลปะ ในแบบเหนือจริง คือ ภาพของความเป็นจริงที่ต่างออกไป
          เมื่อเรานอนหลับแล้วฝันไป ความฝันของเราก็คือสิ่งที่เราพบในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง แต่บางครั้งฝันนั้นกลับแปลกออกไป บางครั้งกลับเหาะได้ หรือพบเจอสิ่งที่ไม่ปกติ หรือมีความพิเศษไปกว่าสิ่งที่เจอในชีวิตจริง แล้วแต่ว่าเรารู้สึกประทับใจในสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมแจ่มชัดในความคิดและจินตนาการของเรา


         หรือบางครั้งอาจเป็นวัตถุที่ถูกเพิ่มจินตนาการเข้าไว้ หรือบางครั้งเกิดจากการผสมรูปร่างที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน บางครั้งเป็นการผสมสัตว์ต่างชนิดเข้าด้วยกัน บางครั้งอาจเป็นวัตถุผสมกับรูปร่างของสิ่งมีชีวิตก็เป็นได้


          เซอร์ริวลิซึ่ม จึงมีความจริงของรูปร่างรูปทรงต่างๆ ที่ถูกผสมเข้ากับจินตนาการให้เข้ามาอยู่ในภาพเดียวกันนั่นเอง



          ลองไปดูภาพตัวอย่างเพื่อทดลองสร้างผลงานแบบเซอร์ริวริสกัน


          Rene Magritte ศิลปินที่สร้างสรรค์งานศิลปะแบบเซอร์ริวริส ศิลปินผสมรูปร่างของคนกับปลาเข้าด้วยกัน ในภาพเป็นปลาในส่วนของหัว ส่วนอีกครึ่งตัวด้านล่างเป็นร่างกายของผู้หญิง มีความแตกต่างจากนางเงือกที่มักถูกจินตนาการว่ามีด้านบนเป็นคน และมีส่วนล่างเป็นปลา


Collective Invention, 1934
ที่มารูปภาพ : http://www.wikiart.org/en/rene-magritte/collective-invention-1934


           ภาพ Rape ศิลปินเปลี่ยนใบหน้าของผู้ชายกลายเป็นเหมือนร่างกายของผู้หญิง เขาใช้สัญลักษณ์โดยการนำสรีระของผู้หญิง แทนค่าในสิ่งที่ควรจะเป็น หน้าอกอยู่ในส่วนที่เป็นตา สะดือแทนที่จะเป็นจมูก หรือเป้าแทนที่จะเป็นปาก ความหมายของภาพอย่างที่เห็นเป็นการมองของผู้ชายถูกเชื่อมโยงไปสู่ความรู้สึกเรื่องเพศ

Rape, 1934
ที่มารูปภาพ : http://www.wikiart.org/en/rene-magritte/rape-1934

          Salvador Dali ศิลปินอีกท่านที่ทำงานแบบเซอร์ริวริส ภาพ The Persistence of Memory มีชื่อเสียงมาก เขานำรูปร่างที่มีอยู่จริงมาจินตนาการเพิ่ม นาฬิกาที่ถูกแปรสภาพออกไปเป็นวัตถุที่เหลว ไร้โครงสร้างที่แน่นอน ทำให้เราจินตนาไปถึงเวลาที่เนิบนาบเนินนานไร้จุดหมาย ในภาพยังมีหนังหน้าของคนที่ถูกวางพับอยู่ โดยปราศจากโครงสร้างของกระโหลกศรีษะเช่นเดียวกับนาฬิกา 
          The Persistence of Memory คงเป็นความทรงจำที่ยาวนานเนิบนาบเสมือนเวลาและร่างกายที่เหลวไปไร้ความมั่นคง


The Persistence of Memory, 1931
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Salvador_Dal%C3%AD
          ในยุคที่มีสงครามเกิดขึ้นศิลปินย่อมได้รับแรงบัลดาลใจจากความโหดร้ายของสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาแปลงความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเป็นภาพที่ถูกทำให้โครงสร้างทั้งหมดเปลี่ยนแปลงไป ร่างกายของคนที่บิดเบี้ยวถูกแบ่งออกเป็นหลายซีกไม่ปะติดปะต่อกันเป็นโครงสร้างเดิม แล้วนำมาก่อให้เกิดเป็นรูปทรงใหม่ที่ไม่มั่นคงในความรู้สึกที่สะท้อนความน่ากลัวของสงคราม


Soft Construction with Boiled Beans: Premonition of Civil War, 1936

ที่มาของรูปภาพ : http://www.wikiart.org/en/salvador-dali/soft-construction-with-boiled-beans-premonition-of-civil-war

           บางครั้งมีความหมายที่ซ้อนกันอยู่ในภายภาพวาด ในภาพ Slave Market with the Disappearing Bust of Voltaire ของ Salvador Dali เราเห็นภาพถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนหน้า กับส่วนหลัง ในส่วนหน้าเป็นภาพโต๊ะที่ถูกคลุมด้วยผ้าสีแดง มีผู้หญิงที่เปลือยครึ่งบน และบนโต๊ะมีฐานของพานวางอยู่เกือบกลางของภาพ พร้อมกับพานที่วางถัดออกไป ถ้าเราสังเกตให้ดีตรงส่วนฐานของพานที่วางอยู่เกือบกลางภาพด้านบนมีผู้หญิงสองคนที่ยืนอยู่ไกลออกไป ยืนอยู่ในส่วนที่พอเหมาะกับตัวฐานของพานพอดี ถ้าพิจารณาภาพที่อยู่ไกลนั้นมองรวมกันแล้วมาประกอบกับรูปพาน จะเป็นใบหน้าของ Salvador Dali อยู่บนฐานนั้น นี่คือการซ้อนความหมายลงด้วยการใช้ขนาดที่ต่างกันของรูปร่าง


Slave Market with the Disappearing Bust of Voltaire, 1940

ที่มารูปภาพ : http://www.wikiart.org/en/salvador-dali/slave-market-with-the-disappearing-bust-of-voltaire-1940

ผลงานของ Alex Alemany
ที่มา : https://www.cuded.com/realism-paintings-by-alex-alemany/

เซอร์ริวริสม์ เมืองไทย  

หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันต์ บริพัตร

ผลงานของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
ที่มา : https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/online-exhibition-princess-marsi/
  

ศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ

ผลงานของศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ
ที่ : https://sites.google.com/site/nityagallery/silpa-se-xrrei-yl/keiyrtisakdi-chan-n-na-rth

ประทีป คชบัว


ผลงานของประทีป คชบัว
ที่มา : https://www.thaksinawat.com/jitdrathanee/talk2550-02.htm